วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การประดิษฐ์กรอบรูปจากไม้ไอศกรีม

การประดิษฐ์กรอบรูปจากไม้ไอศกรีม 
จัดทำโดย
นายนริศ             นิธิภัคศิริ    เลขที่ 4
                                                     นางสาวชนัดดา   บุญมาเลิศ  เลขที่ 10
  นางสาวณัฐชา     วิมูลชาติ   เลขที่ 12
     นางสาวนงลักษณ์  พูลนาค   เลขที่ 16
     นางสาวนภาพร     วิฉานะ     เลขที่ 17
   นางสาวปาลิตา     ลูกอินทร์  เลขที่ 21
     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 
เสนอ
อาจารย์ประเสริฐ   คนยงค์ 
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
 
คำนำ
            โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ง33120 จัดทำขึ้นเพื่อทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ซึ่งในที่นี้คือการประดิษฐ์กรอบรูปจากไม้ไอศกรีม เป็นการนำของที่ไม่มีราคาหรือของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์ ยังเป็นการลดขยะที่อาจก่อให้เกิดมลพิษ สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปตกแต่งบ้านและสถานที่ต่างๆได้ สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่งอีกด้วยและยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หากทำงานประดิษฐ์ร่วมกับคนอื่นๆในครอบครัวยังเป็นการสร้างความสามัคคีและสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวได้อีกด้วย
                คณะผู้จัดทำก็หวังว่าโครงงานฉบับนี้จะมีประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจในการประดิษฐ์กรอบรูปจากไม้ไอศกรีมได้บ้าง และหากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
                                                                                                                                    หน้า    
คำนำ                                                                                                                            
สารบัญ                                                                                                                         
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                              1
            ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                   1
            จุดมุ่งหมายของโครงงาน                                                                                  1
            นิยามเชิงปฏิบัติการ                                                                                           1
            ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า                                                                                 1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                            2
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีในการดำเนินงาน                                                 6
บทที่ 4 ผลการทดลอง                                                                                                   9
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง                                                                 10
เอกสารอ้างอิง                                                                                                              11
ภาคผนวก                                                                                                                    12
บทที่ 1
บทนำ
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ไม้ไอศกรีมเป็นขยะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หลังจากรับประทานไอศกรีมไปแล้ว ยิ่งทุกวันนี้สภาพอากาศของบ้านเราก็ร้อนทำให้มีการบริโภคไอศกรีมในปริมาณที่มากขึ้น คณะผู้จัดทำเห็นว่าไม้ไอศกรีมน่าจะยังมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อทำไม้ไอศกรีมที่คนอื่นอาจมองว่าไม่มีค่าให้มีค่าขึ้นได้โดยนำไม้ไอศกรีมมาทำเป็นกรอบรูป เป็นการนำสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาทำให้เกิดประโยชน์ มีความสวยงามและสามารถสร้างรายได้ได้และเป็นการใช้ทรัพยากรไม้ได้อย่างคุ้มค่า
จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1. เพื่อนำไม้ไอศกรีมที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาทำให้เกิดประโยชน์
2. เพื่อเป็นของตกแต่งบ้านและสถานที่ต่าง ๆ
3. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
4. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
นิยามเชิงปฏิบัติการ
การประดิษฐ์ของจากขยะ หมายถึง การนำเศษขยะที่ไม่มีคุณค่านำมาเพิ่มค่า
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. ไม้ไอศกรีมทิ้งจากการรับประทานไอศกรีมแล้วนำมาประดิษฐ์
2. การตรวจสอบคุณภาพของไม้ว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้
 
 
บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                งานประดิษฐ์เป็นชิ้นงานที่ผลิตเพื่อนำไปใช้สอยให้เกิดประโยชน์โดยมีความประณีตสวยงาม  เช่น  เพื่อเป็นเครื่องใช้ ของเล่น เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง และเครื่องใช้ในงานพิธี  นอกจากได้ชิ้นงานแล้วยังทำให้เกิดความสบายใจ มีสมาธิ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มรายได้
ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์
                1. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่และพัฒนาประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
2. งานประดิษฐ์ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานสามารถที่ใช้วัสดุอย่างอื่นทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
3. ฝึกให้รู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ  เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้รู้จักการทำงาน และมีนิสัยรักการทำงานในด้านงานประดิษฐ์
4. ให้นักเรียนได้รู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือในงานประดิษฐ์  ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของงานประดิษฐ์
5. ฝึกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและมีความสุขในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง
6. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการประหยัด  สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก
7. เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ให้มีการสืบทอดและพัฒนาต่อไป จากภูมิปัญญาเดิมสู่การเรียนรู้ที่เป็นองค์รวมและเป็นผลงานของคนไทย
8. สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์  โดยการนำออกไปจำหน่ายในโอกาสต่าง ๆ และสร้างเป็นอาชีพในอนาคตได้
9. เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง  ทำให้บุคคลยินยอมรับความสามารถของตนเองได้ในระดับหนึ่ง
ลักษณะของงานประดิษฐ์
ลักษณะของงานประดิษฐ์สามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท คือ
1.              งานประดิษฐ์ทั่วไป
เป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น  กล่าวคือ เป็นงานประดิษฐ์
ที่บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้โดยอาศัยการศึกษาจากตำรา  เช่น  ดอกไม้จากวัสดุ
เหลือใช้  หมวก  ตุ๊กตา  เครื่องเล่นต่าง ๆ และกรอบรูป  เป็นต้น
2.              งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
เป็นงานประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นงานประดิษฐ์ที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆโดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลาน งานประดิษฐ์หลายอย่างทำขึ้นเพื่องานประเพณีทางศาสนา  เช่น พานพุ่ม มาลัย เครื่องแขวน บายศรี และบางอย่างก็ทำขึ้นเพื่อความสวยงาม  สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่น ว่าวไทย รถลาก ตุ๊กตา  เป็นต้น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ของใช้
                                ได้แก่  หวาย ไม้ไผ่ ไม้ เชือก ลวด ปูนปลาสเตอร์ กระดาษแข็ง ผ้า พลาสติก สี กาว เชลแล็ก แลกเกอร์  เป็นต้น
                                วัสดุเหล่านี้สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ได้มากมาย  เช่น  ตะกร้าหิ้ว ตะกร้าผลไม้ ตะกร้าใส่หนังสือ กระจาด กระด้ง เข่ง ชะลอม หลัว ไม้แขวนเสื้อ แจกัน ที่คั่นหนังสือ
1.  คุณสมบัติของวัสดุ  ได้แก่  ความแข็งแรง ทนทาน ความสวยงาม ลวดลาย ความอ่อนนิ่ม  ความมันวาว ความเหนียว
2.  อุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์  ได้แก่  มีด  เลื่อย  คีม  กรรไกร  และอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะแต่ละงาน  ได้แก่  เลื่อยตัด  เหล็กหมาด  ที่เลียดตอก  มีดโต้  เหล็กกดลาย  มีดขูดผิว  เหล็กนำหวาย  มีดจักตอก  คีม มีดลบเหลี่ยม  กุญแจเลื่อน  มีดเหลา  และคาลิเปอร์  เป็นต้น
                            การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ต้องมีความละเอียดรอบครบมากขึ้นเพราะวัสดุมีความเหนียว  ความแข็งและคม  อาจเกิดอันตรายได้  จึงต้องทำความรู้จักและศึกษา วิธีใช้อุปกรณ์อย่างดีก่อนลงมือใช้  และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย  และการดูแลรักษาด้วย

การออกแบบ  และการดัดแปลงงานประดิษฐ์

                การประดิษฐ์ชิ้นงานจำเป็นต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ชิ้นงาน  เพื่อการใช้ประโยชน์ทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ  คือประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงามด้านศิลปวัฒนธรรม  แบบของงานประดิษฐ์เกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติ  จินตนาการและความสะดวกในการใช้งานและมีการดัดแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับสมัยนิยม
1.              ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบ  หมายถึง  การใช้ความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานให้สมบูรณ์ และความสามารถนำความคิดขึ้นมาปฏิบัติเป็นชิ้นงานได้  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งด้านการใช้สอย และด้านศิลปะความสวยงามหรือจิตใจ
2.              ความหมายของการดัดแปลง
การดัดแปลง  หมายถึง  การปรับเปลี่ยนแบบจากสิ่งเดิม  หรือจากพื้นฐานมาสู่การพัฒนาทางคิดและ
นำมาปฏิบัติแบบใหม่ได้โดยวิธีการตัด เติม แต่ง หรือ ปรับปรุง  เพื่อให้มีความสวยงาม น่าสนใจมากยิ่งขึ้น  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ผู้ออกแบบต้องการได้  นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานได้อีกด้วย
3.              ความสำคัญและประโยชน์ของการออกแบบ
3.1  เป็นการถ่ายทอดแนวความคิดและจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบของวัตถุที่มีตัวตนและมองเห็นได้
3.2  เกิดความสะดวกและเข้าใจง่ายขึ้น  เมื่อนำไปประดิษฐ์หรือประกอบเป็นชิ้นงาน และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานประดิษฐ์ได้
3.3  สามารถแยกงานเป็นส่วน ๆ และแบ่งขั้นตอนชิ้นงานประดิษฐ์ออกจากกัน  เพื่อความสะดวกในการนำมาประกอบหรือสร้างชิ้นงานที่สมบูรณ์
3.4  เกิดการพัฒนาจากชิ้นงานประดิษฐ์เดิม  โดยวิธีการดัดแปลงและปรับปรุงรูปแบบงานประดิษฐ์
3.5  สะดวกในการเก็บรวบรวมรูปแบบของงานประดิษฐ์แบบต่าง ๆ และสามารถติดต่อขายสินค้างานประดิษฐ์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบของชิ้นงาน  และสะดวกในการเดินทาง
3.6  สามารถเลือกเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการสร้างชิ้นงานประดิษฐ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประดิษฐ์
4.              หลักการออกแบบ
4.1  สามารถนำรูปแบบ ลายเซ็น สีสันจากธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบได้  เช่น ภูเขา น้ำตก  แม่น้ำ เมฆ  ทะเล  สัตว์  และพืชต่าง ๆ
4.2  สามารถนำรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่  วงกลม วงรี สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หกเหลี่ยม และแปดเหลี่ยม  มาใช้ประโยชน์ในการออกแบบ  นอกจากนี้ยังสามารถนำรูปทรงเหล่านี้มาประยุกต์เพื่อสร้างผลงาน
4.3  พิจารณาความสะดวกในการใช้งาน  เช่น ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก และลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของชิ้นงาน
4.4  พิจารณาความแข็งแรง  ทนทานของชิ้นงานที่ออกแบบว่า  สามารถใช้ประโยชน์ในด้านใด
4.5  พิจารณาความนุ่มนวล อ่อนช้อย และความบอบบางของชิ้นงานว่าสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
4.6  พิจารณาสีสัน  ลวดลาย ตามประเภทของงานประดิษฐ์ และโอกาสของการนำชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ทางด้านสร้างสรรค์
4.7  ความประหยัดด้านราคา  และวัสดุปุปกรณ์ที่นำมาประกอบเป็นชิ้นงาน  ต้องมีราคาเหมาะสมกับคุณภาพของชิ้นงาน
4.8  การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  เป็นการนำวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้แล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่  หรือดัดแปลงเป็นชิ้นงานใหม่
5.              หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
5.1  เป็นการสื่อถึงความสำคัญ  ประโยชน์ และชนิดของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อจำหน่าย 
หรือเพื่อสร้างความสนใจให้กับบุคคลทั่วไป
5.2  เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้อื่นให้เกิดแรงกระตุ้นและมีความต้องการสินค้า
5.3  สามารถบอกรายละเอียดของส่วนประกอบ  วิธีใช้  ผู้ผลิต  และข้อมูลอื่นที่จำเป็นสำหรับตัวสินค้าได้
5.4  ให้มีความแข็งแรงสามารถรองรับและป้องกันผลิตภัณฑ์ได้ตามความเหมาะสม
5.5  พิจารณาเอกลักษณ์ของสินค้าให้ตรงตามลักษณะชนิดและประเภทของสินค้าและสามารถสร้างลักษณะเด่นของสินค้า
5.6  พิจารณาตามความต้องการทางวัฒนธรรมของผู้บริโภค  เนื่องจากความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม  ทำให้บุคคลมีความต้องการสินค้าแตกต่างกันไปด้วย  และในบางท้องถิ่นก็ไม่นิยมสินค้าในบางประเภท
5.7  ประโยชน์ใช้สอย  เมื่อใช้สินค้าหมดแล้วสามารถตัดแต่งและเติม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีก
5.8  ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  โดยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ  หรือวัสดุที่เหลือใช้อื่น ๆ  นำกลับมาปรับปรุงและดัดแปลงให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
5.9  ประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน  เป็นการนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่  และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
 
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีในการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
                1. ไม้ไอศกรีม
                                                      5. ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
                2. กรรไกร                                                            6. ปากกาเมจิกสีสันต่างๆ
                3. กาวยู้ฮู                                                               7. อุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ
                4. เชือก                                                                 8. รูปภาพ
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
                1. เตรียมไม้ไอศกรีม
2. ทากาวที่ไม้ไอศกรีมทำเป็นรูปสีเหลี่ยมจัสตุรัส
3. นำมาแปะเรื่อยๆจนได้เป็นฐาน
4. ทำขอบให้มีความหนาประมาณ 3 ชั้น
5. ร้อยเชือกเป็นที่หิ้วและตกแต่งให้สวยงาม
6.  ใส่รูปที่เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จ
บทที่ 4
ผลการทดลอง
ตารางที่  4.1 แสดงความพึงพอใจต่อสิ่งประดิษฐ์จากผู้พบเห็น 20 ท่าน
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
5
มาก
4
ปานกลาง
3
น้อย
2
น้อยที่สุด
1
1.             วัสดุที่ใช้หาได้ง่าย
20
-
-
-
-
2.             ความสวยงาม
16
4
-
-
-
3.             ความคงทน
14
6
-
-
-
4.             สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ
18
2
-
-
-
5.             การนำไปใช้ประโยชน์
20
 
-
-
-
จากตารางการสำรวจความพึงพอใจ ของผู้สนใจ พบว่า อันดับ 1 สิ่งประดิษฐ์ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและการนำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ 100% อันดับ 2 สามารถสร้างได้หลายรูปแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 90% อันดับ 3 ความสวยงาม 80% และสุดท้ายอันดับ 4 ความคงทน 70%
บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองครั้งนี้พบว่า  ไม้ไอศกรีมสามารถนำมาประดิษฐ์ เป็นกรอบรูป ช่วยเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุให้มีคุณค่ามากขึ้น โดยสังเกตผลของการจัดทำแบบสอบถาม ความพึงพอใจ วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์หาได้ง่าย สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกรอบรูปรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำมาเป็นของตกแต่งบ้านและสถานที่ได้ ทำให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ได้  
อภิปรายผลการทดลอง
จากการสำรวจ จากแบบสอบถามความพึงพอใจ  พบว่า
อันดับ 1 สิ่งประดิษฐ์ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและการนำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ 100%
อันดับ 2 สามารถทำเป็นหลายรูปแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 90%
อันดับ 3 ความสวยงาม 80%
อันดับ 4 ความคงทน 70%
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงานวิทยาศาสตร์
1. ได้นำไม้ไอศกรีมที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่
2. ได้มีของตกแต่งบ้านและสถานที่ต่าง ๆ
3. ได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
4. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.  เป็นการสร้างรายได้ภายในครัวเรือน
ข้อเสนอแนะ
                1. ควรลองใช้วัสดุอื่นๆที่หาได้ง่ายดูบ้าง
                2. ควรทำสิ่งประดิษฐ์รูปแบบอื่นๆบ้าง
เอกสารอ้างอิง
งานประดิษฐ์. (ออนไลน์). วันที่สืบค้นข้อมูล. 12 กุมภาพันธ์ 2556. เข้าถึงได้จาก. 
                http://blog.eduzones.com/jade/3237.
งานประดิษฐ์. (ออนไลน์). วันที่สืบค้นข้อมูล. 12 กุมภาพันธ์ 2556. เข้าถึงได้จาก.
งานประดิษฐ์. (ออนไลน์). วันที่สืบค้นข้อมูล. 14 กุมภาพันธ์ 2556. เข้าถึงได้จาก.
ภาพผลิตภัณฑ์ในโปรแกรม Google Sketch Up 8
ภาพผลิตภัณฑ์ด้านหน้า
ภาพผลิตภัณฑ์ด้านข้าง
ภาพผลิตภัณฑ์ด้านหลัง
ภาพผลิตภัณฑ์โดยรวม

2 ความคิดเห็น:

  1. Slotocash casino site – Live Dealer and VIP experience - LuckyClub
    The online casino 카지노사이트luckclub market is full of slots, bingo and casino games. Check out our review of the all-in-one slot machine platform and play the game

    ตอบลบ
  2. Casinos - Drmcd
    In the year 2021, the online 당진 출장마사지 casino 대구광역 출장샵 category grew significantly 여수 출장마사지 and players 구리 출장샵 are choosing to create casino slots games from scratch. As a Jul 정읍 출장마사지 16, 2020 · Uploaded by CasinoSlots

    ตอบลบ